ระเบียบและกฏหมาย
พระราชบัญญัต
เอกสารประเมินบุคคล
รายงานประจำป
คู่มือต่างๆ
แบบฟอร์มต่างๆ
Link Web ที่น่าสนใจ
กรุงเทพมหานคร
หนังสือเวียนกรุงเทพมหานคร
กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สำนักงานประกันสังคม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
แพทยสภา
สภาการพยาบาล
WHO Thailand
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
กรมบัญชีกลาง
ไทยฮอตไลน์
มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย
Bangkok GIS
 
โรคช๊อกโกแลตซีส “โรคของผู้หญิงยุคใหม่”
             ผู้หญิงหลายท่านอาจเกิดอาการปวดท้องเวลาเป็นประจำเดือน เพราะ Prostaglandin ที่หลั่งออกมาในช่วงเป็นรอบเดือน นอกจากปวดท้องแล้วก็อาจจะมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียนProstaglandin : สารชนิดหนึ่งในร่างกายซึ่งคล้ายฮอร์โมน คือ ต้นเหตุที่ทำให้ปวดท้องขณะมีประจำเดือน และ เป็นสารชนิดที่ทำให้ผู้หญิงเราเกิดอาการปวดท้องตอนจะคลอดลูก... สารนี้จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกหดตัว เพื่อช่วยให้ร่างกายขับประจำเดือนออกมา..... บางท่านอาจเริ่มวิตกกังวลถึงโรคภัยที่ผู้หญิงมักจะกลัว ไม่ว่าจะเป็น เนื้องอก มะเร็ง ผังผืด ที่อาจพบในระบบสืนพันธุ์
             โรคช๊อกโกแลตซีส (Chocolate cyst : one having dark, syrupy contents, resulting from collection of hemosiderin following local)
             คำจำกัดความของโรคช๊อกโกแลตซีส ช๊อกโกแลตซีส หมายถึง ''ถุงน้ำที่มีสารของเหลวสีคล้ายกับช๊อกโกแลตอยู่ภายใน'' ความรุนแรงมากพอสมควร การเรียกตามลักษณะที่เห็นความจริงแล้ว คำเต็มก็คือ..... ''โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือ เอ็นโดเมทริโอซิส ''ปกติตัวเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูก ควรจะอยู่เฉพาะภายในโพรงมดลูกเท่านั้น เมื่อใดก็ตามที่ตัวเยื่อบุโพรงมดลูกนี้กระจายออกนอกตัวโพรงมดลูกไปเกาะอยู่ที่ใดก็ตามก็จะเป็นโรคของตำแหน่งนั้นเกิดขึ้น
            ในปัจจุบันพบผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มากน้อยแค่ไหน โรคนี้พบได้บ่อยขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย เราจะพบมากที่สุดก็คือ พบได้ 10- 20% ในกลุ่มของผู้ที่อยู่ในวัยที่มีประจำเดือน กลุ่มคนลูกยากจะเป็น 30-45% คำว่าผู้ป่วยที่มีลูกยากก็คือ คู่สมรสที่แต่งงานเกิน 1 ปี มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ และไม่สามารถตั้งครรภ์ได้เอง
            กลไกที่ก่อให้เกิดโรค ---ปัจจุบันนี้เรายังไม่ทราบกลไกที่ทำให้เกิดโรคที่แท้จริง แต่มีทฤษฎีหนึ่งที่เชื่อถือคือ ทฤษฎีของแซมซัน จะมีเลือดประจำเดือนส่วนน้อยส่วนหนึ่งไหลกลับเข้าไปในช่องท้อง โดยผ่านท่อรังนำไข่ เลือดประจำเดือนที่ไหลเข้าสู่ช่องท้องก็จะนำเซลล์ของเยื่อบุโพรงมดลูกไปด้วย แต่ตำแหน่งของเซลล์นี้ถ้าไปฝังตัวอยู่ที่อวัยวะไหนก็จะทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นในอวัยวะนั้น ส่วนมากเราจะพบมากในบริเวณรังไข

นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดโรคอีกหรือไม่

ผู้หญิงปกติทุกคนจะมีการไหลย้อนกลับของเลือดประจำเดือน แต่บางคนเป็นโรค, บางคนไม่เป็นโรคขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยง คือ

-  มีประวัติครอบครัว โดยเฉพาะทางมารดาหรือว่าพี่สาว, น้องสาวของผู้ป่วย ถ้าเกิดเป็นโรคนี้ตัวผู้ป่วยจะมีโอกาสเป็นโรคที่สูงขึ้นมากกว่าคนทั่วไป    3-10 เท่า
-  กลุ่มผู้ป่วยที่มีการทำงานของรังไข่นาน ๆ รังไข่ทำงานนานในกรณีที่เริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุน้อยหรือประจำเดือนรอบสั้น เดือนหนึ่งมีมากกว่า    2 ครั้ง หรือออกมากหรือออกนานมากกว่า 7 วัน
-  กลุ่มที่มีความผิดปกติโดยกำเนิด ของทางออกของประจำเดือน กรณีนี้เราจะเจอได้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาเยื่อพรหมจารีปิด

ปัจจัยลดความเสี่ยงของโรคอยู่ 3 ปัจจัย คือ

-  การตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่มีการตั้งครรภ์หลายครั้งโอกาสเป็นโรคก็จะน้อยลง การตั้งครรภ์ผู้หญิงจะไม่มีภาวะของการมีประจำเดือนไปเป็นเวลา 9-10 เดือน หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิด ซึ่งยาคุมกำเนิดจะมีฮอร์โมนที่มีชื่อว่า โปเตสเซอโรน
-  การออกกำลังกายมาก ๆ โดยเฉพาะการออกกำลังตั้งแต่วัยรุ่นจะต้องออกกำลังกายมากกว่าสัปดาห์ละ 7 ชม. อันนี้จะเป็นการลดฮอร์โมนเอสโตเจน เป็นผลทำให้เกิดโรคน้อยลง
-  การสูบบุหรี่ จะทำให้เกิดเอสโตนเจนน้อยลง โอกาสการเกิดโรคก็จะน้อยลง แต่ที่กล่าวมาก็ไม่ ได้หมายความว่าจะสนับสนุนให้ผู้หญิงทุกคนต้องสูบบุหรี่

ลักษณะอาการผิดปกติเบื้องต้นเป็นอย่างไร

-  คนไข้จะมีอาการปวดประจำเดือนทุกเดือน แต่อาการปวดประจำเดือนก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นโรคนี้ ซึ่งลักษณะอาการปวด คือ มีอาการปวดอย่างรุนแรงและจะปวดมากขึ้นมากขึ้นทุกเดือน เป็นอย่างนี้มากขึ้นไปเรื่อย
-  มีอาการเจ็บปวดเวลามีเพศสัมพันธ์
-  ผู้ป่วยจะมีบุตรยาก

เราจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคนี้หรือไม่

             อาศัยจากประวัติก่อนทำการตรวจร่างกายคนไข้ และจะมีการช่วยวินิจฉัยหลายอย่าง เช่น ....การทำอัลตราซาวด์ ส่องกล้อง ตรวจภายในอุ้งเชิงกราน การเจาะเลือดตรวจทูเมอร์ .... การวินิจฉัยโรค ถ้าเกินเราอัลตราซาวด์แล้วเราเห็นก้อนชัด ๆ ก็จะสามารถบอกได้ทันที แต่ในกลุ่มที่คนไข้ที่มีผลการตรวจคนไข้ไม่ชัดเจน กลุ่มนี้เรามักจะต้องใช้วิธีส่องกล้องตรวจภายในอุ้งเชิงกราน

วิธีการรักษาในปัจจุบันมีหลายแบบ

-  การใช้ยา
-  การผ่าตัด
-  ใช้ยาร่วมกับการผ่าตัด
             จะคำนึงถึงอาการของผู้ป่วย ความต้องการในการมีลูกและความรุนแรงของอาการ การใช้ยารักษา มีอยู่ 2 กลุ่ม ....แพทย์จะต้องให้คนไข้อยู่ในภาวะไม่มีประจำเดือน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการไหลย้อนกลับของเลือดประจำเดือนเข้าไปในช่องท้อง เป็นยาที่ทำให้คนไข้หมดประจำเดือน ---เหมือนคนในวัยทอง ---หรือเหมือนหญิงตั้งครรภ์
ส่วนการผ่าตัด จะใช้ในกรณีที่ตัวโรครุนแรง ชนิดที่ 1 การผ่าตัดออกหมด ผลการผ่าตัดทำให้คนไข้หายจากโรค แต่คนไข้ก็จะไม่สามารถมีบุตรได้อีก ชนิดที่ 2 ก็คือ การผ่าตัดเพื่อเอาตำแหน่งของพยาธิสภาพออก ข้อดีของการผ่าตัดนี้ก็คือ ผู้ป่วยสามารถมีบุตรได้อีก แต่ข้อเสียก็คือ ตัวโรคสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีก

ผลจากการใช้ยาที่ทำให้คนไข้หมดประจำเดือน จะมีผลแทรกซ้อนอย่างไรเกิดขึ้นบ้าง
            หลักการจะทำให้คนไข้ไม่มีประจำเดือนประมาณ 6-9 เดือน จริง ๆ เป็นระยะที่สั้น ถ้าใช้ยาทำให้ไม่มีประจำเดือนเหมือนวัยทอง ...จะมีอาการหงุดหงิด ชาปลายมือ ปลายเท้า

จะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำอีกหรือไม่
            ในกรณีที่เราผ่าตัดเอาเฉพาะพยาธิสภาพออก โดยที่เก็บตัวมดลูกและรังไข่ไว้คนไข้ ก็จะมีโอกาสกลับเป็นซ้ำอีก

อันตรายของโรคนี้มากน้อยแค่ไหน

            ในกรณีที่เป็นมาก ๆ คนไข้ก็จะมีพังพืดเกิดขึ้นในอุ้งเชิงกราน ผังพืดที่เกิดขึ้นมีการรัดอวัยวะที่สำคัญหลายอย่าง เพราะฉะนั้นการผ่าตัดจำเป็นต้องอาศัยฝีมือขอศัลยแพทย์ที่ดี พอประจำเดือนมาครั้งต่อไป ตัวโรคก็จะโตขึ้นเรื่อย ๆ ระหว่างนั้นหากมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ก้อนช๊อกโกแลตซีสเกิดแตก สารของเหลวที่อยู่ภายในก็จะออกมากระตุ้นเยื่อบุช่องท้อง ทำให้คนไข้มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉิน

การป้องกันควรทำอย่างไร

-  เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของเลือดประจำเดือน ก็ควรจะหลีกเลี่ยงการตรวจภายใน หรือ มีเพศสัมพันธ์ขณะที่มีประจำเดือน
-  ในหญิงกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงสูง เช่น มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้ เราอาจพิจารณณาให้การป้องกันด้วยการกินยาคุมกำเนิด เริ่มตั้งแต่วัยเริ่มมีประจำเดือนและหยุดยาต่อเมื่อมีบุตร
-  ขอแนะนำให้ผู้หญิงที่แต่งงาน ตั้งครรภ์เร็ว ๆ
-  ข้อแนะนำท่านที่มีอาการผิดปกติดังกล่าว โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่มีบุตรยาก ถ้าเกิดไม่แน่ใจในอาการควรจะได้รับการปรึกษาและการตรวจจากแพทย์โดยเร็ว

คำถาม

1.  ทำไมหญิงยุคใหม่เป็นโรคนี้กันมากขึ้น ?
            "ถ้าดูในเรื่องงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเยื่อบุโพรงมดลูกเติบโตผิดที่พบว่า ถ้านำผู้หญิง 100 คนมาทำการส่องกล้องเข้าไปดูในขณะที่มีประจำเดือน ผู้หญิงเกือบทั้ง 100 คน จะมีภาวะลือดระดูไหลย้อนกลับเข้าไปในช่องท้องทุกคน"

2.  ทำไมบางคนเกิดอาการเป็นถุงน้ำซึ่งทำให้ เกิดความเจ็บปวดมากมาย แต่บางคนไม่เป็น ?
            คนไข้กลุ่มที่เป็นถุงน้ำมักจะมีปัญหาในเรื่องภูมิคุ้มกันบางอย่างบกพร่องซึ่งไม่สามารถจะทำลายเยื่อบุโพรงมดลูกที่เติบโตผิดที่นี้ได้ ในขณะที่ผู้หญิงปกติทั่วไปจะมีภูมิคุ้มกันซึ่งสามารถทำลายเยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญเติบโตผิดที่ได้ "ส่วนที่ดูเหมือนกับว่าผู้หญิงในปัจจุบันเป็นโรคนี้กันมาก ก็เพราะความเจริญก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยี

3.  อาการที่น่าสงสัยว่า จะเป็นถุงน้ำช็อกโกแลตเกี่ยวกับเรื่องเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่
            ผู้หญิงที่เป็นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ จะมีอาการปวดท้องมากเวลาที่มีประจำเดือน "การที่จะแยกว่าอาการปวดท้องเมื่อมีประจำเดือนจะเป็นอาการที่บ่งบอกว่าสิ่งแรกท ี่ต้องคำนึงถึงคือ เรื่องอายุ นั่นคือถ้าอายุยังไม่มาก แล้วปวดท้องเวลาที่มีประจำเดือน ส่วนใหญ่จะเป็นอาการปวดท้องธรรมดา แต่กรณีที่ไม่เคยปวดประจำเดือนมาก่อน พออายุ 30 ปีขึ้นไปอยู่ๆ ก็มีอาการปวดประจำเดือนขึ้นมา และปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละเดือนที่ผ่านไป อาการดังกล่าวค่อนข้างบ่งชี้ว่าน่าจะเป็น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่"
4.  ถุงน้ำช็อกโกแลตเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ ?
            ผู้หญิงหลายคนที่เป็นโรคถุงน้ำช็อกโกแลตได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเอาถุงน้ำออกและหลายๆกรณีแพทย์บางคนผ่าตัดเอามดลูกและรังไข่ออกไปด้วยในคราวเดียวกันด้วย
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


Produce by Medical Service Department

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เลขที่ 514          ถนนหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100          โทร. 0-2224-2954 , 0-2224-9711 , 0-2221-6020 , 0-2225-4966          โทรสาร 0-2226-1931 , 0-2221-6029

ติดต่อ Webmaster : webmaster@msdbangkok.go.th